ถั่วลิสง มีถิ่นกำเนิดในเขตร้อนของทวีปอเมริกาใต้ สำหรับการปลูกถั่วลิสงในประเทศไทย มีการปลูกทั่วทุกภาคของประเทศไทย แต่มีมากในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และในถั่วลิสงอุดมไปด้วยโปรตีน ไขมันดี กากใยอาหาร สรรพคุณบำรุงหัวใจ ป้องกันโรคเบาหวาน ช่วยลดน้ำหนัก ต้นถั่วลิสงเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชาการและโทษมีอะไรบ้าง
ลักษณะของถั่วลิสง
- ลำต้นถั่วลิสง ลำต้นมีความสูงประมาณ 1 เมตร ลำต้นมีขน ลำต้นตั้งตรง แตกกิ่งก้านสาขามาก ลำต้นเลื้อย และ เจริญเติบโตตามแนวนอนทอดไปตามพื้นผิวดิน ลักษณะเป็นพุ่มเตี้ย
- ใบถั่วลิสง ลักษณะใบเป็นใบประกอบแบบขนนก สลับกันอยู่บนข้อลำต้น ใบเป็นรูปไข่ ขอบใบเรียบ ก้านใบยาว ปลายแหลม
- ดอกถั่วลิสง ลักษณะดดอกออกเป็นช่อ ดอกจะเกิดตามมุมใบของลำต้นหรือกิ่ง ดอกมีสีเหลืองส้ม กลีบรองดอกสีเขียว ก้านดอกสั้นมาก
- ฝักถั่วลิสง ฝักของถั่วลิสงจะอยู่ใต้ดิน แพร่กระจายเป็นกระจุก เปลือกของฝักมีลักษณะแข็งเปราะ มีลายเส้นชัด ฝักมีสีน้ำตาลอ่อนๆ ภายในฝักมีเมล็ดอยู่ประมาณ 1-6 เมล็ด
- เมล็ดถั่วลิสง อยู่ภายในฝักภั่วลิสง เมล็ดถั่วลิสงจะมีเยื่อหุ้มสีขา
สรรพคุณของถั่วลิสง
- สรรพคุณทำให้ร่างกายอบอุ่น ช่วยระบายท้อง ช่วยหล่อลื่นลำไส้ แก้อาการปวดตามข้อและอาการตามกล้ามเนื้อ ฤทธิ์ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อโรคบางชนิด
- ช่วยลดความดันโลหิต รักษาแผลฟกช้ำ แผลหกล้มกระแทก และแผลมีหนองเรื้อรัง
- เมล็ดถั่วลิสง สรรพคุณช่วยบำรุงร่างกาย ช่วยบำรุงสมองและประสาทตา ช่วยเสริมสร้างความจำ ช่วยให้ร่างกายอบอุ่น ป้องกันโรคหัวใจ ช่วยบำรุงไขมันในร่างกาย ลดความเสี่ยงของโรคเบาหวาน ช่วยบำรุงปอด รักษาอาการไอแห้งเรื้อรัง ช่วยรักษาอาการไอกรน ช่วยบำรุงกระเพาะอาหาร ช่วยสมานแผลในกระเพาะอาหาร ช่วยรักษาโรคบิด ช่วยรักษาพยาธิไส้เดือนที่อุดตันในลำไส้ ช่วยบำรุงม้าม ช่วยห้ามเลือด ช่วยแก้อาการปลายเท้าเป็นเหน็บชา ช่วยบำรุงไขข้อ บำรุงเส้นเอ็น ช่วยบำรุงน้ำนมสำหรับสตรีหลังคลอดบุตร ช่วยรักษาสมดุลของฮอร์โมนเพศ
ข้อควรระวังของถั่วลิสง
- ถั่วลิสงมีสารพิวรีน ( Purine ) ปานกลาง ผู้ป่วยโรคเกาต์ควรรับประทานในปริมาณที่จำกัด เพราะ อาจเป็นตัวกระตุ้นให้ข้ออักเสบมากขึ้น
- ถั่วลิสงอาจมีสารพิษที่เกิดจากเชื้อรา คือ สารอะฟลาทอกซิน ( Aflatoxin ) ซึ่งเป็นสารพิษที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคมะเร็งที่ตับ หัวใจ และสมองบวม อาจทำให้เกิดอาการชัก หายใจลำบาก และตับถูกทำลายได้