อะโวคาโด้เป็นผลไม้ที่มีราคาสูง สรรพคุณหลากหลาย เช่น บำรุงระบบเลือด ลดไขมัน บำรุงผิวพรรณ สามารถใช้แทนเนยได้ นิยมใช้ลดน้ำหนัก มีรสชาติและผลที่เป็นเอกลักษณ์
ลักษณะของอะโวคาโด้
- ลำต้นอะโวคาโด เปลือกของลำต้นจะมีสีน้ำตาลอ่อน ผิวขรุขระ ความสูงประมาณ 20 เมตร
- ใบอะโวคาโด ลักษณะใบใหญ่รียาว สากมือ ใบสีเขียวสด
- ดอกอะโวคาโด ออกดอกเป็นช่อออกดอกที่ปลายกิ่ง ขนาดเล็ก ดอกมีสีเขียวอมเหลือง
- ผลอะโวคาโด ลักษณะกลมรี ภายในผลมีเนื้อสีเหลืองอ่อน รสชาติมัน ไม่มีกลิ่น ภายในมีเมล็ดอยู่ตรงกลางของผล
มี 3 สายพันธ์ คือ สายพันธ์กัวเตมาลา สายพันธ์อินดีสตะวันตก และ สายพันธ์เม็กซิโก โดยราบละเอียด มีดังนี้
- สายพันธ์กัวเตมาลา ลักษณะเด่น คือ ผลสีเขียว ขั้วของผลจะขรุขระ เมล็ดค่อนข้างกลม เนื้อหนา ให้ไขมันสูง ชอบอากาศหนาวเย็นปานกลาง ซึ่งสายพันธ์กัวเตมาลา เช่น พันธุ์แฮส (Hass) และ พันธุ์พิงค์เคอตัน (Pinkerton)
- สายพันธ์อินดีสตะวันตก ลักษณะเด่น คือ ผลเรียบเป็นมัน สีเขียวอมเหลือง เปลือกหนา รสหวานอ่อนๆ ให้ไขมันน้อย ชอบอากาศร้อน ซึ่งสายพันธ์อินดีสตะวันตก เช่น พันธุ์ปีเตอร์สัน (Peterson)
- สายพันธ์เม็กซิโก ลักษณะเด่น คือ ผลเล็ก ผิวเรียบ สีม่วง เปลือกบาง เมล็ดใหญ่ ให้ไขมันมาก ทนอากาศเย็นได้ดี
ประโยชน์ของอะโวคาโด้
ามารถรับประทานเป็นผลไม้สด ทำให้อิ่มท้อง ใช้เป็นอาหารลดน้ำหนักได้ดี สกัดนำน้ำมันจากอะโวคาโด้มาใช้ประโยชน์ต่างๆ เช่น เพื่อการบริโภค นำมาเป็นส่วนผสมในครีมบำรุงผิว และ นำมาเป็นส่วนผสมของแชมพูบำรุงเส้นผม
สรรพคุณของอะโวคาโด้
- บำรุงร่างกาย มีสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยชะลอวัย
- บำรุงพิวพรรณ ช่วยลดริ้วรอยบนใบหน้า ทำให้ใบหน้าสดใส
- บำรุงสายตา ช่วยชะลอการเสื่อมของกระจกตา
- ช่วยบำรุงเลือด ลดไขมันเลว ( LDL ) ลดความเสี่ยงไขมันอุดตันเส้นเลือด ลดความดันโลหิต ลดความเสี่ยงการเกิดโรคเส้นเลือดหัวใจ
- ป้องกันมะเร็ง มีสารต้านการเกิดมะเร็ง เช่น มะเร็งเต้านม มะเร็งลำไส้ และ มะเร็งปากมดลูก
- เสริมสร้างภูมิต้านทานโรค ป้องกันโรคหวัด
- ช่วยระบบขับถ่าย เนื่องจากมีกากใยอาหารสูง
- มีโฟเลตสูง เหมาะสำหรับสตรีมีครรภ์ สร้างความแข็งแรงให้กับบุตรในครรภ์
- บำรุงเส้นผม รักษาอาการผมร่วง รักษาศีรษะล้าน
ข้อควรระวังของอะโวคาโด้
- ผลดิบอะโวคาโด้ มีสารแทนนินในปริมาณมาก ให้รสขม หากรับประทานมากเกินไปจะมีอาการ เช่น ปวดศีรษะ ปวดท้อง อาเจียน ผื่นคัน ลมพิษ หากรุนแรงอาจจะเสียชีวิตได้
- ใบ เปลือกต้น และ เปลือกชั้นเอนโดคาร์บของอะโวคาโด มีความเป็นพิษต่อสัตว์หลายชนิดทั้งแมว หมา แพะ กระต่าย หนู นก ปลา ไก่ และม้า