เป็นพืชล้มลุก ที่เจริญเติบโตได้ดีในพื้นที่ราบลุ่ม ชอลดีที่มีความอุดมสมบูรณ์ อุ้มน้ำได้ดี สามารถพบบอนได้ทั่วไป ในทุกภาคของประเทศไทย อายุของบอนหลายปี สามารถขยายพันธุ์ด้วยวิธีการแยกหน่อ การปักชำหัว ต้นบอนเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการของบอน สรรพคุณเป็นยาระบาย ช่วยขับปัสสาวะ ช่วยห้ามเลือด ช่วยขับน้ำนมสตรี
ลักษณะของต้นบอน
- ลำต้นของบอน บอนมีเหง้าลักษณะเป็นทรงกระบอกอยู่ใต้ดิน ลำต้นแทงออกจากเหง้า ลักษณะลำต้นตั้งตรง อวบน้ำ สีเขียว ความสูงประมาณ 1 เมตร
- ใบบอน ลักษณะใบเป็นใบเดี่ยว หนึ่งก้านใบมี 1 ใบ ลักษณะใบใหญ่ คล้ายรูปหูช้าง เป็นรูปหัวใจ ปลายใบแหลม โคนใบเว้าแหลม โคนใบแยกเป็นแฉก ใบสีเขียว ผิวใบเรียบ
- ดอกบอน เป็นดอกเดี่ยว ดอกออกเป็นช่อ แทงออกจากลำต้น มีกาบสีเหลืองอ่อนหรือสีเหลืองนวลหุ้ม ดอกสีเขียว มีกลิ่นหอม
- ผลบอน ผลสดมีสีเขียว ภายในมีเมล็ด
สรรพคุณของบอน
- รากบอน สรรพคุณแก้เจ็บคอ แก้ท้องเสีย
- หัวบอน สรรพคุณเป็นยาระบาย ช่วยขับปัสสาวะ ช่วยห้ามเลือด ช่วยขับน้ำนมสตรี
- น้ำจากกาบบอน สรรพคุณแก้ไข้ ช่วยห้ามเลือด แก้พิษแมลงป่อง แก้ฟกช้ำ
- ลำต้นบอน สรรพคุณรักษาแผลงูกัด แก้พิษคางคก
- น้ำยางบอน สรรพคุณแก้พิษแมลงสัตว์กัดต่อย กำจัดหูด
- ไหลบอน สรรพคุณรักษาฝีตะมอย
โทษของบอน
ต้นบอนมีความเป็นพิษ โดยในน้ำยางของบอน หากสัมผัสจะระคายเคืองผิวหนัง จะทำให้เกิดอาการแสนร้อน หากรับประทานแบบสดๆ ทำให้เกิดน้ำลายมาก บวมลิ้น ปาก เพดาน และใบหน้า